วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์

 การกระทำที่เป็นความผิด ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 เเละที่ปรับปรุงเเก้ไข พ.ศ. 2560


มาตรา 5 - 8 เข้าถึงระบบ/ข้อมูล ของผู้อื่นโดยมิชอบ

        เข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์

โทษ: จำคุกไม่เกิน 6 เดือน / ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท / ทั้งจำทั้งปรับ

        เข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์

โทษ: จำคุกไม่เกิน 2 ปี / ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท / ทั้งจำทั้งปรับ

        ล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์เเละนำไปเปิดเผย

โทษ: จำคุกไม่เกิน 1 ปี / ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท / ทั้งจำทั้งปรับ

        ดักรับข้อมูลข้อมูลคอมพิวเตอร์

โทษ: จำคุกไม่เกิน 2 ปี / ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท / ทั้งจำทั้งปรับ 
  
ตัวอย่าง: ใช้ user name / password ของผู้อื่น log in เข้าสู่ระบบ ,









มาตรา 11 ส่งข้อมูลหรืออีเมล์ก่อกวนผู้อื่น

        ส่งโดยปกปิดหรือปลองเเปลงเเหล่งที่มา

โทษ: ปรับไม่เกิน 1 เเสนบาท

        ส่งโดยไม่เปิดโอกาสให้ปฏิเสธการตอบรับได้โดยง่าย

โทษ: จำคุกไม่เกิน 2 ปี / ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท / ทั้งจำทั้งปรับ

ตัวอย่าง: การส่งข้อมูลหรืออีเมลืก่อกวนผู้อื่น (สเเปม) เพื่อขายสินค้าหรือบริการ จนผู้รับเกิดความรำคาญ เดือดร้อน ดดยไม่มีปุ่มให้กดเลิกรับอีเมล์ ,
https://youtu.be/ctyKJZAN7tk






มาตรา 12 เข้าถึงระบบ/ข้อมูลด้านความมั่นคงโดยมิชอบ 

        เข้าถึงระบบหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์
 
        ล่วงรู้มาตราการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์เเละนำไปเปิดเผย






มาตรา 13 จำหน่ายหรือเผยเเพร่ชุดคำสั่งเพื่อนำไปใช้กระทำความผิด 
            
        กรณีทำเพื่อเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ ตามมาตรา 5 - 11

โทษ: จำคุกไม่เกิน 1 ปี / ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท / ทั้งจำทั้งปรับ หากมีผู้นำไปใช้กระทำความผิด ผู้จำหน่าย/เผยเพร่ต้องรับผิดชอบ ( เมื่อมีส่วนรู้เห็น)

โทษ: หากมีผู้นำไปใช้กระทำความผิด หรือต้องรับผิดชอบ มาตรา 12 ผู้จำหน่ายหรือเผยเเพร่ จะต้องรับผิดทางอาญาด้วย (เมื่อมีส่วนรู้เห็น)


        กรณีทำเพื่อเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ ตามมาตรา 12

โทษ: จำคุกไม่เกิน 2 ปี / ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท / ทั้งจำทั้งปรับ หากมีผู้นำไปใช้กระทำความผิด ผู้จำหน่าย/เผยเเพร่ต้องรับผิดชอบด้วย (ทุกกรณี)

ตัวอย่าง:เจาะเข้าระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งควบคุมไฟฟ้าในนครหลวง เเละสั่งดับไฟฟ้าทั่วเมือง อันก่อให้เกิดความวุ่นวายเเละมีผลกระทบเป็นวงกว้าง ,
https://youtu.be/Cu_Zs_YnbCg
https://youtu.be/AeSKhQi9yck
https://youtu.be/JOkslCGS3fY






มาตรา 15 ให้ความร่วมมือ ยินยอม รู้เห็นเป็นใจ

        ผู้ให้บริการที่ให้ความร่วมมือ ยินยอม รู้เห็นเป็นใจให้มีการกระทำผิดตามมาตร 14 ต่อระบบคอมพิวเตอร์ของตน 

ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผุ้กระทำผิด
- หากผุ้ให้บริการพิสูจน์ได้ว่าคนไเ้ปฏิบัติตามขั้นตอนการเเจ้งเตือนเเล้วไม่ต้องรับโทษ

โทษ: ผู้ให้บริการมีหน้าที่เก็บข้อมูลการใช้งานไว้ไม่น้อยกว่า 90 วัน กรณีจำเป็น ศาลอาจสั่งให้เก็บเพิ่มได้ไม่เกิน 2 ปี

ตัวอย่าง: การเข้าไปคอมเม้นเเสดงความคิดเห็นในดพสที่มีเนื้อหาผิดกฎหมาย ถ้าไม่ยอมลบจะได้รับโทาเดียวกัยกับมาตรา 14 เหมือนกัน กับผู้โพสเเต่ถ้าหากว่าลบออกไปเเล้ว ถือว่าพ้นผิด














อ้างอิง https://dla.wu.ac.th/th/archives/1028

วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2565

Keywords

     สมรรถนะ (Competency)

                
             สมรรถนะ หรือ Competency เป็นแนวคิดที่มาจากการวิจัยของศาสตราจารย์ เดวิด แมคคลาเลน แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดซึ่งได้ศึกษาคุณสมบัติและคุณลักษณะของนักธุรกิจและผู้บริหารระดับสูงที่ประสบความสาเร็จในองค์กรชั้นนําว่ามีคุณลักษณะอย่างไร  จากการวิจัยพบว่าประวัติและผลลัพธ์ทางการศึกษาที่ดีเด่นของบุคคลไม่ได้เป็นปัจจัยที่จะชี้วัดว่าบุคคลนั้นๆ จะประสบความสาเร็จในหน้าที่การงานเสมอไป หากต้องประกอบไปด้วยคุณลักษณะอื่นๆ 
อาทิ ความสามารถในการทํางานร่วมกับผู้อื่น ความสามารถในการสื่อสารและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น  เป็นต้น 

             สมรรถนะ หรือ Competency หมายถึง กลุ่มของทักษะ ความรู้ ความสามารถ รวมทั้ง พฤติกรรม คุณลักษณะและทัศนคติที่บุคลากรจําเป็นต้องมีเพื่อ ปฏิบัติงานอย่างมีประสทธิภาพประสิทธิผล และเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตรงตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร 



   ความสามารถ (Ability)

        ความสามารถ (Ability) Dr. Stephen P. Robbins ได้ให้ความหมายไว้ว่า “สมรรถภาพของบุคคลซึ่งสามารถที่จะทำภารกิจต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานได้เป็นผลสำเร็จ” ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วมนุษย์เกิดมามีคุณลักษณะและความสามารถที่ไม่เท่ากัน องค์การจึงควรเข้าใจธรรมชาติและหาวิธีดึงเอาศักยภาพที่มีอยู่ในตัวบุคคลให้แสดงออกมาในการทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ
ความสามารถของบุคคลอาจแบ่งออกได้เป็น 2 อย่าง คือ
1.1  ความสามารถทางสติปัญญา (Intellectual abilities) เป็นความสามารถในการใช้สติปัญญาและความคิดของบุคคล ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมของบุคคลนั้น ซึ่งความสามารถทางสติปัญญา สามารถทดสอบหรือวัดได้จากแบบทดสอบ IQ (Intellectual Quotient Test) 
1.2  ความสามารถทางกายภาพ (Physical abilities) เป็นความสามารถในการทำงานที่ไม่ต้องใช้ทักษะ แต่จะต้องใช้ความอดทน ความแข็งแรงของร่างกายและกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ เช่น แขน ขา เพื่อความสำเร็จในการทำงาน ซึ่งจากงานวิจัยถึงคุณสมบัติที่จำเป็นของบุคคลสำหรับงานที่ต้องใช้แรงงานต่าง ๆ (Physical tasks) 


            ทักษะ (Skill)

                    ทักษะ หมายถึง ความชำนาญมาจากคำภาษาอังกฤษว่า skill นอกจากนี้ คณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ร่วมสมัยยังได้ขยายความของคำว่า ทักษะ (skill) มากขึ้นว่าหมายถึง ความชำนาญหรือความสามารถในการกระทำหรือการปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งอาจเป็นทักษะด้านร่างกาย สติปัญญา หรือสังคม ที่เกิดขึ้นจากการฝึกฝนหรือการกระทำบ่อย ๆ เช่น ครูมีทักษะการใช้คำถาม การนำเข้าสู่บทเรียนการใช้สื่อการสอน นักเรียนมีทักษะ การฟัง พูด อ่าน เขียน การคิดคำนวณหรือทักษะทางสังคม ทักษะที่จะทำให้บุคคลประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิตและการทำงาน โดยรวมแล้วประกอบด้วย สมรรถน ทักษะ (hardskill) และ จรณทักษะ [จะระนะ-] (soft skill) บุคคลที่มี จรณทักษะ จะเป็นผู้ปฏิบัติงานได้ดี  ส่วนบุคคลที่มี สมรรถนทักษะ จะเป็นผู้ปฏิบัติงานได้เก่ง

          สมรรถนทักษะ หมายถึง ทักษะความสามารถในการทำงานที่ได้จากการเรียนรู้หรือการฝึกฝนวิชาการ วิชาชีพ ที่เป็นหลักสูตร หรือหลักสูตรระยะสั้นเพื่อใช้ในการเรียนต่อหรือใช้ในการประกอบอาชีพ เช่น การอ่าน การเขียน การพูด การฟัง การพิมพ์ดีด การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ การทำบัญชี การเรียนวิชาช่างอุตสาหกรรมต่าง ๆ  การใช้เครื่องมือ เครื่องจักรกล การขับรถยนต์ การประกอบอาหาร การสอนวิชาการต่าง ๆ การบริหารจัดการ การเพาะพันธุ์ไม้ การทำเกษตรกรรม การประมง การวิเคราะห์วิจัย การออกแบบ การคำนวณ การก่อสร้าง การเล่นกีฬาประเภทต่าง ๆ การวาดภาพ การแสดง การขับร้องเพลง การเล่นดนตรี  ผลของสมรรถนทักษะมีลักษณะเป็นรูปธรรมมองเห็นได้ สัมผัสได้ และวัดและประเมินผลได้โดยใช้เกณฑ์และวิธีการประเมินโดยทั่วไป

   ความรู้ (Knowledge)

            ความรู้ (Knowledge) หมายถึง มวลของประสบการณ์ที่เกิดจากกระบวนการเรียนรู้ การปฏิบัติงาน มีการนําประสบการณ์ วิจารณญาณ ความคิด ค่านิยม และปัญญาของมนุษย์มา วิเคราะห์ เพื่อประยุกต์ใช้ในการทํางาน การตัดสินใจ และการแก้ปัญหา

                        ความรู้ เป็นคําที่มีความหมายกว้างและเป็นนามธรรม ได้มีผู้ให้นิยามความรู้ไว้แตกต่างกันออกไป ดังนั้นนิยามของความรู้ที่รวบรวมไว้ มีดังนี้คือ 
เทอร์แบน(Turban) และคนอื่น ๆ . (2001) อธิบายไว้ว่าความรู้ประกอบด้วยข้อมูล หรือ สารสนเทศที่ได้รับการจัดระบบและประมวลผลเพื่อนําไปสู่ความเข้าใจ ประสบการณ์ และสั่งสมการเรียนรู้ และความเชี่ยวชาญ ซึ่งสามารถนําไปใช้สําหรับการแก้ปัญหาหรือการดําเนินงานได้ 
เพิร์ลสัน (Pearlson) (2001) ได้ให้ความหมายของความรู้ไว้ว่า ความรู้ คือ สารสนเทศที่มีคุณค่ามากที่สุดเป็นส่วนผสมของสารสนเทศที่มีสาระ ค่านิยม ประสบการณ์ และกฎเกณฑ์


        สรุป
                สมรรถนะ ความสามารถ ทักษะ ความรู้ ล้วนมาจากประสบการณ์ หรือการทำซ้ำๆ จนชิน หรือคล่อง  จนเกิดความชำนาญ สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้



อ้างอิง https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/attachment/page/aptitude_development.pdf

อ้างอิง http://cowboymanager.blogspot.com/2011/02/62.html

อ้างอิง https://d.dailynews.co.th/article/223844/

อ้างอิง http://www.udru.ac.th/oldsite/attachments/elearning/10/01.pdf


วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2565

IT 65

 

CoMPuTeR 65 เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที

 เทคโนโลยีสารสนเทศ  information technology: IT




            เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที (อังกฤษ information technology: IT) คือการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โทรคมนาคม เพื่อจัดเก็บ ค้นหา ส่งผ่าน และจัดดำเนินการข้อมูล ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับธุรกิจหนึ่งหรือองค์การอื่น ๆ ศัพท์นี้โดยปกติก็ใช้แทนความหมายของเครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และยังรวมไปถึงเทคโนโลยีการกระจายสารสนเทศอย่างอื่นด้วย เช่น โทรศัพท์และโทรศัพทื อุตสาหกรรมหลายอย่างเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ตัวอย่างเช่น ฮาร์ดเเวร์ ซอฟต์แวร์ อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ อินเทอร์เน็ต อุปกรณ์โทรคมนาคม การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และบริการทางคอมพิวเตอร์


  

 
                                                         
อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล
                   
             คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ระยะแรก เช่น Colossus ใช้เทปเจาะรู (เป็นกระดาษแถบยาวที่ข้อมูล ถูกแทนด้วยชุดของรู) เทคโนโลยีที่ปัจจุบันนี้ล้าสมัยไปแล้ว ที่จัดเก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย ย้อนหลังไปหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อรูปแบบหนึ่งของหน่วยความจำแบบ delay line (เมมโมรีแบบเข้าถึงโดยลำดับ) ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อลบล้างความยุ่งเหยิงจากสัญญาณเรดาร์ การใช้งานในทางปฏิบัติเป็นครั้งแรกเป็น delay line ปรอท อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลดิจิตอลแบบเข้าถึงโดยการสุ่มตัวแรกคือหลอดของ วิลเลียมส์ ที่มีมาตรฐานของหลอดรังสีแคโทด, แต่ข้อมูลที่เก็บไว้ในนั้นมีความผันผวน จะต้องได้รับการฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและหายไปเมื่อไฟดับ รูปแบบที่เก่าแก่ที่สุดของตัวจัดเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์โดยไม่ผันผวนคือกลองแม่เหล็ก ( อังกฤษ magnetic drum) ที่ถูกคิดค้นใน ปี ค.ศ. 1932 และถูกใช้ในเครื่อง Ferranti Mark 1 ซึ่งเป็น คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์วัตถุประสงค์ทั่วไปที่ใช้ในเชิงพาณิชย์เครื่องแรกของโลก







                                             ฐานข้อมูล


        ระบบการจัดการฐานข้อมูลเกิดขึ้นใน ปี ค.ศ.1960 เพื่อแก้ไขปัญหาการจัดเก็บและเรียกใช้ข้อมูลจำนวนมากได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว หนึ่งในระบบดังกล่าวแรกสุดเป็นระบบ Information Management System (IMS) ของไอบีเอ็ม ซึ่งยังคงใช้งานอย่างกว้างขวางกว่า 40 ปีต่อมา IMS เก็บข้อมูลตามลำดับขั้น แต่ ในปี ค.ศ.1970 เท็ด Codd เสนอรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลที่สัมพันธ์เป็นทางเลือก อยู่บนพื้นฐานของการตั้งทฤษฎีและตรรกะ คำกริยาและแนวคิดที่คุ้นเคยของตาราง แถวและคอลัมน์ ระบบการจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ ในเชิงพาณิชย์ 

( อังกฤษ : relational database management system หรือ RDBMS) มีให้บริการเป็นครั้งแรกโดยบริษัท ออราเคิล ในปี ค.ศ.1980


        ทุกระบบการจัดการฐานข้อมูลประกอบด้วยจำนวนขององค์ประกอบที่ร่วมกันยอมให้ข้อมูลที่พวกมันเก็บไว้สามารถเข้าถึงได้พร้อมกันโดยผู้ใช้หลายคนในขณะที่ยังรักษาความสมบูรณ์ของข้อมูลไว้ด้วย ลักษณะของฐานข้อมูลทั้งหมดเป็นโครงสร้างของข้อมูลที่พวกมันเก็บไว้ถูกกำหนดและจัดเก็บไว้แยกต่างหากจากข้อมูลของตัวมันเองในโครงสร้างแบบสกีมา



                                        การค้นคืนข้อมูล


        รูปแบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ได้แนะนำให้รู้จักการเขียนโปรแกรมอิสระภาษา ชื่อ Structured Query Language (SQL) ที่มีพื้นฐานจากพีชคณิตสัมพันธ์

        คำว่า "ข้อมูล"และ"สารสนเทศ" ไม่ใช่คำเดียวกัน อะไรที่เก็บไว้เป็นข้อมูล แต่มันจะกลายเป็นสารสนเทศก็ต่อเมื่อ มันถูกจัดระเบียบและนำเสนอความหมาย ส่วนใหญ่ของข้อมูลดิจิตอลของโลกไม่มีโครงสร้างและถูกเก็บไว้ในหลายรูปแบบทางกายภาพที่แตกต่างกัน แม้จะอยู่ในองค์กรเดียวกันก็ตาม คลังข้อมูลเริ่มถูกพัฒนาในช่วงปี ค.ศ.1980 ที่จะรวมร้านค้าที่แตกต่างกันเหล่านี้ พวกมันมักจะมีข้อมูลที่รวบรวมจากแหล่งต่าง ๆ รวมทั้งแหล่งภายนอกเช่น Internet, ที่ถูกจัดในลักษณะเพื่ออำนวยความสะดวกให้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (อังกฤษ: decision support system หรือ DSS)








                                    การส่งผ่านข้อมูล

    การส่งผ่านข้อมูลมี 3 มุมมอง ได้แก่ การส่ง, การแพร่ และการรับ มันสามารถจำแนกกว้าง ๆ เป็น การกระจายออกไปในสื่อที่ข้อมูลจะถูกส่งไปทิศทางเดียวลงไปท้ายน้ำหรือการสื่อสารโทรคมนาคมที่มี 2 ช่องทาง ไปทางต้นน้ำและปลายน้ำ 

    XML ถูกนำมาใช้งานมากขึ้นเพื่อเป็นวิธีการของแลกเปลี่ยนข้อมูลตั้งแต่ช่วงต้นยุค ค.ศ. 2000 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับการปฏิสัมพันธ์แบบเครื่องต่อเครื่อง เช่น ผู้ที่เกี่ยวข้องในโพรโทคอลที่ใช้กับเว็บ เช่น SOAP ที่อธิบาย "ข้อมูลในการขนส่ง มากกว่า ... ข้อมูลที่พักอยู่" หนึ่งในความท้าทายของการใช้งานดังกล่าวเป็นการแปลงข้อมูลจากฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ ให้เป็นโครงสร้าง (รักอิ๋ว) XML Document Object Model (DOM)








                            การจัดดำเนินการข้อมูล

   

 ฮิลแบร์ต และ โลเปซ ระบุการก้าวแบบ exponential ของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ( ชนิดของกฎของมัวร์): ความสามารถในการประยุกต์ใช้เฉพาะงานของเครื่องเพื่อคำนวณข้อมูลต่อหัวจะประมาณสองเท่าทุก ๆ 14 เดือนระหว่างปี ค.ศ. 1986 ถึง ค.ศ. 2007 ความสามารถต่อหัวของเครื่องคอมพิวเตอร์วัตถุประสงค์ทั่วไปของโลกจะเป็นสองเท่าทุก ๆ 18 เดือนในช่วงสองทศวรรษเดียวกัน; ความสามารถในการสื่อสารโทรคมนาคมระดับโลกต่อหัวจะเป็นสองเท่าทุก ๆ 34 เดือน ความจุของตัวเก็บข้อมูลของโลกต่อหัวต้องการประมาณ 40 เดือนจึงจะเป็นสองเท่า (ทุก 3 ปี); และ ต่อหัวของข้อมูลที่กระจายไปในสื่อจะเป็นสองเท่าทุก ๆ 12.3 ปี

    ข้อมูลจำนวนมหาศาลจะถูกเก็บไว้ทั่วโลกทุกวัน นอกจากมันจะสามารถถูกวิเคราะห์และนำเสนอได้อย่างมีประสิทธิภาพ มันจำเป็นที่จะถูกเก็บอยู่ในสิ่งที่ถูกเรียกว่า สุสานข้อมูล: "เป็นคลังเก็บข้อมูลที่ไม่ค่อยมีการเข้าเยี่ยมชม" เพื่อแก้ไขปัญหานั้น สาขาของเหมืองข้อมูล  "กระบวนการของการค้นพบรูปแบบที่น่าสนใจและ ความรู้จากข้อมูลจำนวนมาก"  เกิดขึ้นใน ช่วงปลายปี ค.ศ.1980






อ้างอิง 

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8

พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์

  การกระทำที่เป็นความผิด ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 เเละที่ปรับปรุงเเก้ไข พ.ศ. 2560 มาตรา 5 - 8 เข้าถึง...