สมรรถนะ (Competency)
สมรรถนะ หรือ Competency เป็นแนวคิดที่มาจากการวิจัยของศาสตราจารย์ เดวิด
แมคคลาเลน แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดซึ่งได้ศึกษาคุณสมบัติและคุณลักษณะของนักธุรกิจและผู้บริหารระดับสูงที่ประสบความสาเร็จในองค์กรชั้นนําว่ามีคุณลักษณะอย่างไร จากการวิจัยพบว่าประวัติและผลลัพธ์ทางการศึกษาที่ดีเด่นของบุคคลไม่ได้เป็นปัจจัยที่จะชี้วัดว่าบุคคลนั้นๆ จะประสบความสาเร็จในหน้าที่การงานเสมอไป หากต้องประกอบไปด้วยคุณลักษณะอื่นๆ
อาทิ ความสามารถในการทํางานร่วมกับผู้อื่น ความสามารถในการสื่อสารและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เป็นต้น
สมรรถนะ หรือ Competency หมายถึง กลุ่มของทักษะ ความรู้ ความสามารถ รวมทั้ง
พฤติกรรม คุณลักษณะและทัศนคติที่บุคลากรจําเป็นต้องมีเพื่อ
ปฏิบัติงานอย่างมีประสทธิภาพประสิทธิผล และเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตรงตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร
ความสามารถ (Ability)
ความสามารถ (Ability) Dr. Stephen P. Robbins ได้ให้ความหมายไว้ว่า “สมรรถภาพของบุคคลซึ่งสามารถที่จะทำภารกิจต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานได้เป็นผลสำเร็จ” ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วมนุษย์เกิดมามีคุณลักษณะและความสามารถที่ไม่เท่ากัน องค์การจึงควรเข้าใจธรรมชาติและหาวิธีดึงเอาศักยภาพที่มีอยู่ในตัวบุคคลให้แสดงออกมาในการทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ
ความสามารถของบุคคลอาจแบ่งออกได้เป็น 2 อย่าง คือ
1.1 ความสามารถทางสติปัญญา (Intellectual abilities) เป็นความสามารถในการใช้สติปัญญาและความคิดของบุคคล ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมของบุคคลนั้น ซึ่งความสามารถทางสติปัญญา สามารถทดสอบหรือวัดได้จากแบบทดสอบ IQ (Intellectual Quotient Test)
1.2 ความสามารถทางกายภาพ (Physical abilities) เป็นความสามารถในการทำงานที่ไม่ต้องใช้ทักษะ แต่จะต้องใช้ความอดทน ความแข็งแรงของร่างกายและกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ เช่น แขน ขา เพื่อความสำเร็จในการทำงาน ซึ่งจากงานวิจัยถึงคุณสมบัติที่จำเป็นของบุคคลสำหรับงานที่ต้องใช้แรงงานต่าง ๆ (Physical tasks)
ทักษะ (Skill)
ทักษะ หมายถึง ความชำนาญมาจากคำภาษาอังกฤษว่า skill นอกจากนี้ คณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ร่วมสมัยยังได้ขยายความของคำว่า ทักษะ (skill) มากขึ้นว่าหมายถึง ความชำนาญหรือความสามารถในการกระทำหรือการปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งอาจเป็นทักษะด้านร่างกาย สติปัญญา หรือสังคม ที่เกิดขึ้นจากการฝึกฝนหรือการกระทำบ่อย ๆ เช่น ครูมีทักษะการใช้คำถาม การนำเข้าสู่บทเรียนการใช้สื่อการสอน นักเรียนมีทักษะ การฟัง พูด อ่าน เขียน การคิดคำนวณหรือทักษะทางสังคม ทักษะที่จะทำให้บุคคลประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิตและการทำงาน โดยรวมแล้วประกอบด้วย สมรรถน ทักษะ (hardskill) และ จรณทักษะ [จะระนะ-] (soft skill) บุคคลที่มี จรณทักษะ จะเป็นผู้ปฏิบัติงานได้ดี ส่วนบุคคลที่มี สมรรถนทักษะ จะเป็นผู้ปฏิบัติงานได้เก่ง
สมรรถนทักษะ หมายถึง ทักษะความสามารถในการทำงานที่ได้จากการเรียนรู้หรือการฝึกฝนวิชาการ วิชาชีพ ที่เป็นหลักสูตร หรือหลักสูตรระยะสั้นเพื่อใช้ในการเรียนต่อหรือใช้ในการประกอบอาชีพ เช่น การอ่าน การเขียน การพูด การฟัง การพิมพ์ดีด การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ การทำบัญชี การเรียนวิชาช่างอุตสาหกรรมต่าง ๆ การใช้เครื่องมือ เครื่องจักรกล การขับรถยนต์ การประกอบอาหาร การสอนวิชาการต่าง ๆ การบริหารจัดการ การเพาะพันธุ์ไม้ การทำเกษตรกรรม การประมง การวิเคราะห์วิจัย การออกแบบ การคำนวณ การก่อสร้าง การเล่นกีฬาประเภทต่าง ๆ การวาดภาพ การแสดง การขับร้องเพลง การเล่นดนตรี ผลของสมรรถนทักษะมีลักษณะเป็นรูปธรรมมองเห็นได้ สัมผัสได้ และวัดและประเมินผลได้โดยใช้เกณฑ์และวิธีการประเมินโดยทั่วไป
ความรู้ (Knowledge)
ความรู้ (Knowledge) หมายถึง มวลของประสบการณ์ที่เกิดจากกระบวนการเรียนรู้
การปฏิบัติงาน มีการนําประสบการณ์ วิจารณญาณ ความคิด ค่านิยม และปัญญาของมนุษย์มา
วิเคราะห์ เพื่อประยุกต์ใช้ในการทํางาน การตัดสินใจ และการแก้ปัญหา
ความรู้ เป็นคําที่มีความหมายกว้างและเป็นนามธรรม ได้มีผู้ให้นิยามความรู้ไว้แตกต่างกันออกไป ดังนั้นนิยามของความรู้ที่รวบรวมไว้ มีดังนี้คือ
เทอร์แบน(Turban) และคนอื่น ๆ . (2001) อธิบายไว้ว่าความรู้ประกอบด้วยข้อมูล หรือ สารสนเทศที่ได้รับการจัดระบบและประมวลผลเพื่อนําไปสู่ความเข้าใจ ประสบการณ์ และสั่งสมการเรียนรู้ และความเชี่ยวชาญ ซึ่งสามารถนําไปใช้สําหรับการแก้ปัญหาหรือการดําเนินงานได้
เพิร์ลสัน (Pearlson) (2001) ได้ให้ความหมายของความรู้ไว้ว่า ความรู้ คือ สารสนเทศที่มีคุณค่ามากที่สุดเป็นส่วนผสมของสารสนเทศที่มีสาระ ค่านิยม ประสบการณ์ และกฎเกณฑ์
สรุป
สมรรถนะ ความสามารถ ทักษะ ความรู้ ล้วนมาจากประสบการณ์ หรือการทำซ้ำๆ จนชิน หรือคล่อง จนเกิดความชำนาญ สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
อ้างอิง https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/attachment/page/aptitude_development.pdf
อ้างอิง http://cowboymanager.blogspot.com/2011/02/62.html
อ้างอิง https://d.dailynews.co.th/article/223844/
อ้างอิง http://www.udru.ac.th/oldsite/attachments/elearning/10/01.pdf
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น